RISK MANAGEMENT : PROJECT RISK MANAGEMENT

การบริหารความเสี่ยง : วิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยงโครงการที่ไม่หวังผลกำไร (ภาค 1) สำหรับรัฐวิสาหกิจ และ หน่วยงานราชการ

หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ต่างประสบปัญหาในการหาทฤษฎี หรือ แนวทาง และเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการ ที่มีลักษณะในเชิงสังคม โดยไม่มุ่งหวังผลกำไร แต่มุ่งหวังการตอบสนอง คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของกลุ่มเป้าหมาย และใช้ตอบคำถามของ สำนักงบฯ หรือ สคร. InterFinn มีความพร้อมของอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในการให้คำแนะนำ และเครื่องมือที่สามารถใช้งานได้จริง


โครงสร้างหลักสูตร

วันที่ 1: กระบวนการคิดและแนวทางการวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการ
การเขียนรายละเอียดโครงการ

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อใช้ประเมินความก้าวหน้า หรือ ผลลัพธ์ของโครงการ หน่วยงานประเมินโครงการควรสร้างรายละเอียดโครงการ อาทิ

  • ความต้องการและวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ อะไร?
  • กลุ่มเป้าหมายที่ใช้บริการหลังดำเนินการในโครงการนี้ คือ ใคร?
  • กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการนี้ คือ ใคร?
  • ผลลัพธ์ตามแผนของโครงการ คือ ใคร?
การกำหนดวัตถุประสงค์และการประเมินผล

รายละเอียดของวัตถุประสงค์และสาเหตุของการประเมินผลโครงการ ซึ่งหน่วยงานประเมินโครงการจำเป็นจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในฐานะเป็นผู้ปรเมินโครงการ อาทิ

  • เพื่อวัดระดับความสำเร็จของโครงการ
  • ตรวจสอบเอกสารอธิบายวิธีการทำงานของโครงการแก่เจ้าหน้าที่ของโครงการ
  • การตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลมาจากการทำโครงการ
การระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการประเมินผล

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นบุคคลหรือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือ สนใจในโครงการที่กำลังดำเนินการ ขององค์กร ซึ่งหน่วยงานเหล่านั้นอาจจะเข้าร่วมโครงการ หรือ ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมเหล่านั้นก็ได้

  • ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก คือ ใคร?
  • ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอง คือ ใคร?
การเลือกประเภทการประเมินผล

เป็นการกำหนดทิศทางสำหรับการประเมินผลของหน่วยงานประเมินโครงการ ซึ่งจะช่วยให้กระบวนการ ประเมินผลเน้นที่วัตถุประสงค์หลัก และกำหนดคำถามสำหรับการประเมินโครงการที่จะตรวจสอบ

  • รูปแบบการประเมินผล คือ
  • กระบวนการใช้ในการตรวจสอบ คือ
  • การสรุปผลการประเมิน คือ
  • การประเมินผลลัพธ์ (Outcome) คือ
การเลือกเครื่องมือการประเมินผล

เครื่องมือการประเมินผลจะช่วยให้หน่วยงานผู้ประเมินโครงการสามารถรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น และใช้ตอบคำถามการประเมินโครงการที่แตกต่างกันของกิจกรรมหลักของโครงการ

การวิเคราะห์ความเสี่ยงโครงการ

วิธีการประเมินผลการมีส่วนร่วมของกลุ่มสมาชิกในโครงการ

เมื่อหน่วยงานประเมินโครงการมีการจัดทำแผนการประเมินโครงการขึ้นในแต่ละโครงการที่แตก ต่างกันตามลักษณะประเภทโครงการ ซึ่งการประเมินโครงการจำเป็นที่จะต้องให้สมาชิกในทีมงานของ โครงการได้รับรู้ด้วย และจำเป็นที่จะต้องช่วยสนับสนุนกาประเมินโครงการ อาทิ

  • ทบทวนความก้าวหน้าการทำงานของโครงการ
  • ให้คำแนะนำเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการ
  • ให้บริการตอบคำถามและช่วยแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นระหว่างการประเมินโครงการ
วิธีการขอรับการสนับสนุนจากองค์กรต้นสังกัด

การขอการสนับสนุนด้านการจัดหา จะทำอย่างไร?

การขอการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ จะทำอย่างไร?

การขอการสนับสนุนด้านเทคนิค จะทำอย่างไร?

เทคนิคการระบุตัวชี้วัดการประเมินผล (เบื้องต้น)

ตัวชี้วัดที่นำมาเป็นปัจจัยใชัวัดผลหรือหลักฐานที่แสดงถึงขอบเขตของความก้าวหน้า ของโครงการที่ประสบความสำเร็จ

  • วิธีการระบุตัวชีัวัดที่ใช้ประเมินผลโครงการ
  • ตัวอย่าง : ตัวชี้วัดในการประเมินโครงการ
เทคนิคการติดตามตรวจสอบโครงการ (เบื้องต้น)

กลไกการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่ากิจกรรมของโครงการมีการวางแผนเป็นอย่างดี และมีความ ก้าวหน้าจนใกล้เสร็จสมบูรณ์ในเวลาที่กำหนด ซึ่งกลไกนี้เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งในการจัดการโครงการ และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการประเมินผลใดๆ


วันที่ 2: ฝึกปฎิบัติวิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการ

การทดลองฝึกการตั้งสมมติฐานความเสี่ยงของโครงการ

ฝึกปฎิบัติทดลองการเติมข้อมูลในตาราง Excel Template ประเมินผลโอกาสเกิดและผลกระทบของความเสี่ยงโครงการ

นำเสนอผลงานของแต่ละคนในที่ประชุม และตอบข้อซักถาม

ผู้เข้ารับการอบรมนำเสนอผลงานด้านการวิเคราะห์ความความเสี่ยงของโครงการ

วิทยากรบรรยายสรุป

ตอบข้อสักถามและบรรยายสรุป

ลงทะเบียน

สถิติการลงทะเบียน
ราคาค่าลงทะเบียน : 5000 บาท
จำนวนที่รับสมัคร : 20 คน
จำนวนคนที่ลงทะเบียนแล้ว : 0 คน

หมายเหตุ : คุณต้องสมัครสมาชิกก่อนจึงจะลงทะเบียนได้

ลงทะเบียนเข้าอบรม

เกี่ยวข้องกับหลักสูตร

ระยะเวลาหลักสูตร : 2 วัน
ระยะเวลาอบรม : 08:30 - 16:30
การสนับสนุน : 24x7 ตอบคำถามและข้อสงสัยทางอีเมล์
ประสบการณ์ผู้เข้าอบรม : ประสบการณ์เขียนแผนงานโครงการ

คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ

  • แนวคิดและวิธีการต่างๆ เกี่ยวกับความเสี่ยง
  • เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของงาน
  • วิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการเงิน
  • การวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ
  • เครืองมือ Excel Template สำหรับใช้ในงาน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • ทักษะด้านการวิเคราะห์ความเสี่ยงโครงการ
  • เทคนิคการอธิบายความเสี่ยงโครงการต่อ สคร.
  • การใช้เครื่องมือช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์
  • เครื่องมือที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง
  • ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการละเลยด้านความเสี่ยง
  • การบริหารจัดการโครงการที่ดีตามมาตรฐาน

ผู้ที่ควรเข้ารับการอบรม

  • เจ้าหน้าที่ด้านนโยบายและแผนโครงการ
  • เจ้าหน้าที่ติดตามและประเมินผลโครงการ
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารความเสี่ยง

รูปแบบการฝึกอบรม

E-mail  Q&A 
PDF Print Print 
Twitter Facebook