RISK MANAGEMENT : PROJECT RISK MANAGEMENT

การบริหารความเสี่ยง : การบริหารความเสี่ยงโครงการสำหรับโครงการที่ใช้เงินกู้ สำหรับรัฐวิสาหกิจ และ หน่วยงานราชการ

หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ต่างประสบปัญหาในการหาทฤษฎี หรือ แนวทาง และเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการ ที่มีลักษณะในเชิงสังคม โดยไม่มุ่งหวังผลกำไร แต่มุ่งหวังการตอบสนอง คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของกลุ่มเป้าหมาย และใช้ตอบคำถามของ สำนักงบฯ หรือ สคร. InterFinn มีความพร้อมของอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในการให้คำแนะนำ และเครื่องมือที่สามารถใช้งานได้จริง


โครงสร้างหลักสูตร

วันที่ 1: กระบวนการคิดและแนวทางการวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการ
เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง

การจัดการโครงการและการบริหารความเสี่ยงโครงการ การจัดการความเสี่ยงตลอดอายุวงจรชีวิตของโครงการ หน้าที่ของผู้จัดการโครงการ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ : เปรียบเทียบกับ โอกาส และ ภัยคุกคาม (Risk tolerance : Opportunities and threats)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการ
  • Check list Template
  • ที่จะใช้ประเมินการดำเนินงาน ก่อน, ระหว่าง และเสร็จสิ้นโครงการ การใช้แบบสอบถามกระบวนการดำเนินงาน และให้น้ำหนักถึงข้อดี - ข้อเสียของการตัดสินใจ และมีการวัดผลจากคะแนนที่ได้มีการกำหนดมาตรฐานไว้ล่วงหน้า

  • Project Plan
  • การนำแนวคิดเกี่ยวกับ Project Plan มาใช้ในการวิเคราะห์กระบวนการของโครงการ และตรวจสอบข้อผิดพลาดของโครงการ

  • การใช้แผนภูมิ Gantt Charts
  • เป็นเครื่องมือที่ใช้บริหารจัดการโครงการและนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการได้อย่างชัดเจน

  • PERT (Program Evaluation and Review Technique)
  • เป็นการวิเคราะห์ระยะเวลาที่จำเป็นสำหรับโครงการหรือขั้นตอนแต่ละโครงการต่อการวิเคราะห์เส้นทางที่สำคัญที่จะนำมุมมองสงสัยเพิ่มเติมจากประมาณการเวลา

การบริหารจัดการความเสี่ยงโครงการ

วัตถุประสงค์หลักและเป้าประสงค์หลักของโครงการ เพื่ออะไร ?
  • การวิเคราะห์วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ เป็นสิ่งที่จะต้องยึดถือและปฎิบัติอย่างต่อเนื่อง การวิเคราะห์ SWOT Analysis จุดแข็ง , จุดอ่อน , โอกาส , ภัยคุกคาม
  • จะต้องมีการวิเคราะห์ SWOT นี้จะต้องวิเคราะห์ช่วงเวลาของการดำเนินโครงการ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง โดยการนำจุดอ่อนและอุปสรรค มาใช้บริหารความเสี่ยงโครงการ การวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ
  • เป็นกลุ่มที่จำเป็นจะต้องนำมาพิจารณาความเสี่ยงตลอดอายุวงจรชีวิตของโครงการและหลังโครงการที่ได้มีการส่งมอบเมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วด้วย การวิเคราะห์แหล่งเงิน และ การบริหารงบประมาณที่ประสิทธิภาพตามค่าเป้าหมายของโครงการ วิธีการฝึกอบรมให้กับผู้เข้าเรียนทุกท่าน จะใช้ และมูลค่าการลงทุนตามสัญญาโครงการ
  • โครงการจะต้องมีการวิเคราะห์ความคุ้มค่าด้านการเงิน ทั้งก่อนการก่อสร้างโครงการ และหลังจากที่มีการส่งมอบโครงการเสร็จสิ้นแล้ว ไปสักระยะหนึ่ง
วิธีการสร้างแนวป้องกันหรือลดผลกระทบของความเสี่ยงโครงการ

การจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงโครงการแยกตามขั้นตอนของโครงการ บันทึกเหตุการณ์ความเสี่ยงของโครงการ การกำหนด Risk Matrix ความเสี่ยงของโครงการเพื่อใช้วิเคราะห์ผลกระทบโครงการ ตอบข้อสักถามการใช้เครื่องมือ

วิเคราะห์ความคุ้มค่าด้านการเงินของโครงการ

ทำการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทน IRR, NPV, PB,จัดทำประมาณการด้านการเงินล่วงหน้า (Financial Forecast) และประมาณการด้านเงินสด (CashFlow Projection) การวิเคราะห์ความคุ้มค่าและผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment : SROI)


วันที่ 2: ฝึกปฎิบัติวิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการ

การทดลองฝึกการตั้งสมมติฐานความเสี่ยงของโครงการ

ฝึกปฎิบัติทดลองการเติมข้อมูลในตาราง Excel Template ประเมินผลโอกาสเกิดและผลกระทบของความเสี่ยงโครงการ

นำเสนอผลงานของแต่ละคนในที่ประชุม และตอบข้อซักถาม

ผู้เข้ารับการอบรมนำเสนอผลงานด้านการวิเคราะห์ความความเสี่ยงของโครงการ

วิทยากรบรรยายสรุป

ตอบข้อสักถามและบรรยายสรุป

ลงทะเบียน

สถิติการลงทะเบียน
ราคาค่าลงทะเบียน : 5000 บาท
จำนวนที่รับสมัคร : 20 คน
จำนวนคนที่ลงทะเบียนแล้ว : 0 คน

หมายเหตุ : คุณต้องสมัครสมาชิกก่อนจึงจะลงทะเบียนได้

ลงทะเบียนเข้าอบรม

เกี่ยวข้องกับหลักสูตร

ระยะเวลาหลักสูตร : 2 วัน
ระยะเวลาอบรม : 08:30 - 16:30
การสนับสนุน : 24x7 ตอบคำถามและข้อสงสัยทางอีเมล์
ประสบการณ์ผู้เข้าอบรม : ประสบการณ์เขียนแผนงานโครงการ

คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ

  • แนวคิดและวิธีการต่างๆ เกี่ยวกับความเสี่ยง
  • เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของงาน
  • วิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการเงิน
  • การวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ
  • เครืองมือ Excel Template สำหรับใช้ในงาน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • ทักษะด้านการวิเคราะห์ความเสี่ยงโครงการ
  • เทคนิคการอธิบายความเสี่ยงโครงการต่อ สคร.
  • การใช้เครื่องมือช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์
  • เครื่องมือที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง
  • ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการละเลยด้านความเสี่ยง
  • การบริหารจัดการโครงการที่ดีตามมาตรฐาน

ผู้ที่ควรเข้ารับการอบรม

  • เจ้าหน้าที่ด้านนโยบายและแผนโครงการ
  • เจ้าหน้าที่ติดตามและประเมินผลโครงการ
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารความเสี่ยง

รูปแบบการฝึกอบรม

E-mail  Q&A 
PDF Print Print 
Twitter Facebook