RISK MANAGEMENT : BUSINESS CONTINUITY PLAN (BCP)

การบริหารความเสี่ยง : แผนดำเนินการธุรกิจต่อเนื่อง สำหรับรัฐวิสาหกิจ และ หน่วยงานราชการ

การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ Business Continuity Plan (BCP) หมายถึง การที่องค์กร ได้ทำการวางแผนป้องกันและเตรียมความพร้อมต่อกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากภัยคุกคาม ต่อองค์กรที่มีความรุนแรงอย่างสูง ซึ่งการตอบสนองภัยคุกคามด้วยแผน BCP จะช่วยปกป้ององค์กร

ประโยชน์ของ BCP
  1. องค์กรที่มีแผน BCP ที่ดีและมีประสิทธิภาพจะทำให้การดำเนินธุรกิจขององค์กรไม่เกิดการหยุดชะงัก
  2. แผน BCP จะช่วยให้องค์กรสามารถลดค่าใช้จ่ายของการหยุดชะงักของธุรกิจ และผลกระทบอื่นๆ
  3. การมีแผน BCP จะช่วยให้ทรัพยากรที่มีค่า อาทิ การสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ลดลง ค่าเบี้ยประกันภัยลด
  4. การมีแผน BCP เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับองค์กรสามารถระบุผลกระทบของการหยุดชะงัก การดำเนินธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ และดำเนินงานแบบบูรณาการทั่วทั้งองค์กร

โครงสร้างหลักสูตร

วันที่ 1: บรรยายกระบวนการและแนวคิดเกี่ยวกับ Business Continuity Plan
แนวคิดการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management)
  • แนวคิดและกระบวนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCM)
  • บทบาทของคณะผู้บริหารและความรับผิดชอบในการตัดสินใจและบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCM)
  • การประเมินผลความสำเร็จและความคุ้มค่าด้านต้นทุนในการจัดทำแผน BCM
  • ข้อแตกต่างระหว่างแผน BCM กับ ความสามารถในการดำเนินงานของระบบที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน
การประเมินความเสี่ยง
  • ประเมินศักยภาพด้านเทคโนโลยี สถาวะแวดล้อม และการโจมตีของผู้ก่อการร้าย ขององค์กร
  • กำหนดโครงสร้างทางธุรกิจของ องค์กร ถ้าได้รับผลกระทบจากภัยคุกคาม และประเมินความรุนแรง ของความเสี่ยงให้กับแต่ละหน่วยทางธุรกิจที่เป็นหน่วยงานหลัก และประเมินระดับที่เกินกว่าการยอมรับได้
  • กำหนดกระบวนการป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น เทียบกับระดับป้องกันที่มีอยู่ในปัจจุบัน สามารถรองรับความเสี่ยงที่มีความรุนแรงระดับใดได้บ้าง
วิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ (Business Impact Analysis)
  • ระบุกระบวนการทางธุรกิจที่มีความสำคัญ
  • ผลกระทบถ้ามีการหยุดชะงักทางธุรกิจ
  • ประเมินเวลาและความไวที่เกิดขึ้นหลังการหยุดชะงักทางธุรกิจ
  • กำหนดเหตุการณ์ที่มีผลกระทบรุนแรงสูงสุดในกระบวนการปฎิบัติงานที่สำคัญๆ
กระบวนการกำหนดแผน BCP
  • ภาพรวมเกี่ยวกับการกำหนดแผน BCP อาทิ วัตถุประสงค์ขอบเขต
  • อธิบายหลักคิดที่ง่าย ใช้งานได้จริงในการวางแผน BCP
    • นโยบายการกำหนดร่างแผน BCP
    • การกำหนดสมมติฐานการเกิดเหตุการณ์วิกฤติ BCP
    • การกำหนดโครงร่างของทีมงานผู้ปฎิบัติตามแผน BCP
  • ข้อมูลที่จำเป็นในการวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) ขององค์กร ในภาวะวิกฤติ
  • แต่งตั้งทีมงานระดับผู้บริหาร
    • เบอร์โทรศัพท์ติดต่อผู้บริหารสายตรง (สายด่วน)
    • รูปแบบรายงานที่จำเป็นจะต้องเสนอต่อผู้บริหาร
    • รายชื่อผู้บริหารระดับสูงและเบอร์โทรศัพท์ติดต่อหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องและมีความสำคัญ
  • ทีมงานผู้ประสานงานในภาวะวิกฤติ (Business Continuity Coordinator : BCC)
  • ทีมงานประเมินผลความเสียหายและกอบกู้ (Damage Assessment/Salvage Team)
  • ทีมงานเคลื่อนย้ายและขนส่งสินค้าและอุปกรณ์ (Logistics/Transportation Team)
  • ทีมงานด้านการประชาสัมพันธ์ และติดต่อสื่อสาร (PR/Communication Team)
  • ทีมงานสนับสนุนและอำนวยความสะดวก (Facilities/Securities Team)
  • ทีมงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Team)
  • อื่นๆ
การบริหารแผน BCP และการบำรุงรักษา
  • ทีมงานผู้ประสานงานในภาวะวิกฤติ (Business Continuity Coordinator : BCC)
  • ทีมงานผู้ควบคุมและปฎิบัติงานตามแผน (Business Continuity Plan Administrators : BCA)
  • ทีมงานตรวจสอบและประเมินควบคุมปรับปรุง (Business Continuity Plan Maintenance )
การวางแผนการทดสอบและการรายงานในภาวะวิกฤติ
  • BCP Exercise (Testing) Methodology
  • When to Exercise (Test) the BCP
  • Developing the Exercise (Test) Scenario or Plan
  • Exercise (Test) Evaluation
  • Exercise (Test) Reports

ตอบข้อซักคำถามและบรรยายสรุป

วันที่ 2: ร่างแผน Business Continuity Plan และวิธีการปฎิบัติ

บรรยายการวิเคราะห์ ด้วยโปรแกรม Excel Template และโปรแกรม Mind Map สำหรับการสร้าง สถานการณ์จำลองของผลกระทบต่อองค์กรที่มีความรุนแรงสูงเกินกว่าที่ยอมรับได้

แบ่งกลุ่มปฎิบัติการจัดทำร่างแผน BCP ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเหตุการณ์รุนแรงที่ได้รับผลกระทบ ทำการเขียนร่างแผน BCP และทีมงานปฎิบัติการ

วิทยากรบรรยายสรุป

ตอบข้อสักถามและบรรยายสรุป

Email :interfinn@gmail.com

ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ คุณตุ้ย โทรศัพท์ 081 588 1532


ลงทะเบียน

สถิติการลงทะเบียน
ราคาค่าลงทะเบียน : 5000 บาท
จำนวนที่รับสมัคร : 20 คน
จำนวนคนที่ลงทะเบียนแล้ว : 0 คน

หมายเหตุ : คุณต้องสมัครสมาชิกก่อนจึงจะลงทะเบียนได้

ลงทะเบียนเข้าอบรม


เกี่ยวข้องกับหลักสูตร

ระยะเวลาหลักสูตร : 2 วัน
ระยะเวลาอบรม : 08:30 - 16:30
การสนับสนุน : 24x7 ตอบคำถามและข้อสงสัยทางอีเมล์
ประสบการณ์ผู้เข้าอบรม : ประสบการณ์ 1-2 ปี มีประสบการณ์ด้านการ บริหารความเสี่ยงองค์กร

คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ

  • แนวคิดและวิธีการเกี่ยวกับความเสี่ยง
  • เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยง KRI
  • วิธีการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการเงิน
  • เทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยง
  • เครืองมือ Excel Template สำหรับความเสี่ยง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • ทักษะด้านการวิเคราะห์ความเสี่ยงโครงการ
  • เทคนิคการกำหนดตัวชี้วัดความเสี่ยง
  • การใช้เครื่องมือช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์
  • เครื่องมือที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง
  • ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการละเลยด้านความเสี่ยง

ผู้ที่ควรเข้ารับการอบรม

  • เจ้าหน้าที่ด้านนโยบายและแผนโครงการ
  • เจ้าหน้าที่ติดตามและประเมินผลโครงการ
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารความเสี่ยง

รูปแบบการฝึกอบรม